รู้ทันพื้นที่เสี่ยง (Thailand)

KnowDengue_element_1

รู้ทันพื้นที่เสี่ยงไข้เลือดออก

พื้นที่ระบาดไข้เลือดออก…อยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด
 

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่คุณอยู่

ข้อมูลเดือน

ประจำสัปดาห์การระบาดที่

ทุกสถานที่ล้วนเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก

ตรวจสอบสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของคุณได้ที่นี่

 
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ที่คุณอยู่

ข้อมูลเดือน

ประจำสัปดาห์การระบาดที่

ทุกสถานที่ล้วนเป็นพื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออก

ตรวจสอบสถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ของคุณได้ที่นี่

ตอนนี้คุณอยู่ที่
กรุงเทพมหานคร
จำนวนผู้ป่วยในจังหวัดที่คุณอยู่ (ราย)
 
 

สถานการณ์ไข้เลือดออก ในประเทศไทย ปี

การระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย เริ่มมีการรายงานผลมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 ซึ่งในปัจจุบันนี้ ไข้เลือดออกก็ยังคงเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่ยังคงพรากชีวิตผู้คนอย่างต่อเนื่อง

ตัวเลขผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมในไทยตลอดปี พ.ศ. จะมีรายละเอียด ดังนี้

 
KnowDengue_element_4
 
ผู้ป่วยสะสม (ราย)
 
KnowDengue_element_5
 
ผู้เสียชีวิตสะสม (ราย)
 
 

กลุ่มผู้ป่วยและเสียชีวิตสะสมปี จากไข้เลือดออก แบ่งตามกลุ่มอายุ

หากจัดกลุ่มผู้ป่วยและเสียชีวิตจากไข้เลือดออกในปี พ.ศ. ตามอายุ จะมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้

 
ป่วย (ราย)
 
เสียชีวิต (ราย)
 
  • กลุ่มอายุ (ปี)
  • 0-4
  • 5-14
  • 15-24
  • 25-34
  • 35-44
  • 45-54
  • 55-64
  • 65 ขึ้นไป
  • 0
  •  

     

  •  

     

  •  

     

  •  

     

  •  

     

  •  

     

  •  

     

  •  

     

 
กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากที่สุด คือ

 

กลุ่มอายุที่พบอัตราเสียชีวิตมากที่สุด คือ

 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้มีอายุ 5 - 14 ปีจะเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเล็กส่วนมากมักชอบเล่นสนุกกับกิจกรรมกลางแจ้งและอาจถูกยุงลายกัดได้โดยไม่รู้ตัว ทั้งยังอาจไม่รู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากยุงลายอย่างเหมาะสม

ในทางตรงข้าม กลุ่มอายุที่พบอัตราเสียชีวิตสูงสุดจะอยู่ที่ช่วงอายุ 45 - 54 ปี และ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สุขภาพร่างกายเริ่มอ่อนแอลง

ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่รักษาได้ตามอาการ แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้เฉลี่ย 0.3% - 1% ก็ตาม โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบเจอในขณะที่เป็นไข้เลือดออกจะประกอบไปด้วยภาวะตับอักเสบ ภาวะไตวาย และภาวะอวัยวะในร่างกายล้มเหลว

นอกจากนี้ โรคประจำตัวและภาวะน้ำหนักเกินก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สุขภาพอ่อนแอ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน ที่สำคัญ การใช้ยากลุ่ม NSAIDs* ที่ส่งผลต่อระบบเลือดภายในร่างกาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความรุนแรงของไข้เลือดออกได้ โดยการรับประทานยากลุ่ม NSAIDs* ในขณะเป็นไข้เลือดออกจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารได้

 
ที่มา: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
*ยากลุ่ม NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) หรือ ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีมากมาย เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแน็ก นาพร็อกเซน เป็นต้น ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบในโรคข้ออักเสบต่าง ๆ

(อ้างอิง: ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. (2562). ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) สืบค้น 9 ธันวาคม 2565 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/472ปวดข้อกับยาเอ็นเสด(NSAIDs)/)

พื้นที่เสี่ยงไข้เลือดออก…อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

ทุกบริเวณรอบตัวสามารถเป็นพื้นที่เสี่ยงไข้เลือดออกได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภายในบ้าน รอบบริเวณที่อยู่อาศัย และทุกสถานที่รอบตัว เนื่องจากยุงลายเป็นแมลงที่สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว เพียงมีพื้นที่น้ำขังก็สามารถขยายพันธุ์ได้ในทันที

นอกจากนี้ ยุงลายมักอาศัยอยู่ตามพื้นที่มืด อับชื้น ทั้งยังมีขนาดเล็กและมีสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ ทำให้ยากต่อการสังเกต ซึ่งหลายคนเองก็อาจจะไม่รู้ตัวว่าโดยยุงลายกัด

เป็นไข้เลือดออกรอบสอง อันตรายจริงไหม?

การได้รับเชื้อไข้เลือดออกในครั้งแรกร่างกายของเราจะมีระบบภูมิคุ้มกันโดยการสร้างภูมิต้านทานออกมาต่อสู้กับการเชื้อไวรัส แต่ภูมิต้านทานไม่ได้อยู่ถาวรหรือป้องกันชนิดอื่นๆ สามารถป้องกันได้เพียงสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว เมื่อได้รับเชื้อไข้เลือดออกซ้ำในครั้งที่สองแต่คนละสายพันธุ์ภูมิต้านของเราในร่างกายเราจึงเกิดอาการสับสน และทำงานได้ไม่ดีพอ ไม่สามารถสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างทันเวลา หรือบางรายภูมิต้านทานที่เคยเป็นเกราะป้องอาจกลับผันตัวเองไปเป็นตัวช่วยให้เชื้อไวรัสนั้นแข็งแรงขึ้น กระจายตัวได้มากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้การติดเชื้อครั้งที่สองหรือครั้งต่อมายิ่งรุนแรงขึ้นนั้นเอง

ป้องกันไข้เลือดออกได้อย่างไร?

พื้นที่เสี่ยงไข้เลือดออก คือ พื้นที่ที่มียุงลาย ดังนั้น ทุกคนจึงควรทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบบ้านและแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น กำจัดแหล่งน้ำขัง ทั้งภายในและนอกบริเวณที่อยู่อาศัยทั้งหมด

หากมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้มาพ่นควัน หรือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างถูกต้อง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด และป้องกันไม่ให้บ้านของคุณกลายเป็นพื้นที่ระบาดไข้เลือดออก

นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็นอีกหนึ่งแนวทาง ที่สามารถลดการติดเชื้อและความรุนแรงของโรค โดยปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน 2 ชนิด ได้แก่

  1. วัคซีนไข้เลือดออกที่มีเชื้อไวรัสไข้เหลือง 17D เป็นแกนกลาง (Dengvaxia®︎) : ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 3 เข็ม โดยเว้นห่างกัน 6 เดือน (ที่ 0, 6 และ 12 เดือน) ในผู้ที่มีอายุ 6-45 ปี ที่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน หรือมีผลการตรวจระดับภูมิคุ้มกัน (serological testing) ที่แสดงถึงการได้รับเชื้อในอดีต
  2. วัคซีนไข้เลือดออกที่มีเชื้อไวรัสเดงกีซีโรไทป์ 2 (DEN-2) เป็นแกนกลาง (Qdenga®︎) : ฉีดวัคซีนทั้งสิ้น 2 เข็ม โดยเว้นห่างกัน 3 เดือน (ที่ 0 และ 3 เดือน) ในผู้ที่มีอายุ 4-60 ปี สามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยมีประวัติเป็นไข้เลือดออกมาก่อน โดยไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการยืนยันการติดเชื้อจากห้องปฏิบัติการ

ซึ่งทุกคนสามารถติดต่อตรวจเลือดกับแพทย์และวางแผนฉีดวัคซีนที่เหมาะสมต่อไป

7 โรคที่มาพร้อมฝน

ช่วงฤดูฝน อากาศเริ่มเย็นลงและมีความชื้นเพิ่ม ทำให้เชื้อก่อโรคหลายชนิดสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งทุกคนควรระมัดระวังและดูแลสุขภาพของตัวเอง ให้ปลอดภัยจากโรคดังต่อไปนี้

  1. โรคไข้เลือดออก: เกิดจากยุงลาย เป็นพาหะซึ่งแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วในฤดูนี้
  2. ไข้หวัดใหญ่ : เกิดจากเชื้อไวรัส สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่
  3. ไข้หวัด : เกิดจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ
  4. โรคต่อมทอนซิลอักเสบ : ติดเชื้อทางระบบหายใจที่เกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย
  5. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน : เกิดจากการทานอาหารที่ปนเปื้อน
  6. โรคเยื่อบุตาอักเสบ : เกิดจากการติดเชื้อไวรัสทำให้ตาแดง มีน้ำตาไหล
  7. โรคฉี่หนู : ติดต่อทางบาดแผลและมีน้ำเป็นตัวพาหะ จึงไม่ควรเดินในน้ำขัง โดยเฉพาะในคนที่มีบาดแผล
KnowDengue_element_2